กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค

โครงสร้างกลุ่มงาน

1. งานมาตรฐานผลิตภัณฑ์และสถานบริการด้านสุขภาพ 1.1 มาตรฐานผลิตภัณฑ์และสถานประกอบการด้านสุขภาพ ก่อนออกสู่ท้องตลาด (Pre-Marketing) (1) ให้บริการปรึกษาและคำแนะนำ (2) รับคำขอ ตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสารประกอบคำขอ และเก็บเงินค่าใช้จ่ายในการยื่นคำขอ (3) พิจารณาและตรวจสอบคำขอ หลักฐาน รายละเอียดต่างๆ ตามหลักวิชาการและข้อกฎหมาย และดำเนินการด้านการขออนุญาต กลั่นกรอง การออกใบอนุญาต (4) ตรวจสถานสถานที่เพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาต (5) ขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงใบอนุญาต (6) ขอใบแทนใบอนุญาต/ขอคัดสำเนา (7) แจ้งย้าย (8) แจ้งเลิก (9) ต่ออายุ (10) บันทึกข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ (11) จัดทำเอกสารเสนอผู้อนุญาต (12) ส่งมอบใบอนุญาตและเก็บเงินค่าธรรมเนียม (13) จัดทำทะเบียนสถานประกอบการและผลิตภัณฑ์ (14) สรุปผลงานการให้บริการ (15) อื่นๆ ได้แก่ สภาพแวดล้อมศูนย์บริการ ขั้นตอน/ช่องทางการบริการ/เอกสารแนะนำ/คู่มือประชาชน 1.2 มาตรฐานผลิตภัณฑ์และสถานประกอบการด้านสุขภาพ หลังออกสู่ท้องตลาด (Post-Marketing) (1) ตรวจสอบ ควบคุมกำกับ สถานประกอบการ (ผลิต นำเข้า จำหน่าย ) ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานและ) ตามที่กฎหมายกำหนด โดยเป็นการปฏิบัติงาน - ตามแผนเฝ้าระวัง (มีนาคม – กรกฎาคม) - ตามแผนการตรวจสอบประจ าปี (พฤศจิกายน – ธันวาคม) - ตามการร้องเรียน (2) เฝ้าระวัง ตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพให้ถูกกฎหมายและปลอดภัย (สถานที่ผลิต นำเข้า จำหน่าย หมู่บ้าน ชุมชน รถเร่ ฯลฯ) โดยการตรวจสอบ - ฉลากผลิตภัณฑ์ - กายภาพของผลิตภัณฑ์ - ชุดทดสอบอย่างง่าย (Test Kit) - เก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ (3) พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ ให้ปฏิบัติได้ตามมาตรฐานและกฎหมาย (4) รับรองมาตรฐานสถานประกอบการ - GMP / มาตรฐานกฎหมาย - ร้านยา GPP /ร้านยาคุณภาพ (5) ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายกับสถานประกอบการ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ความปลอดภัย - ยึด - อายัด - ส่งเปรียบเทียบปรับ - ส่งดำเนินคดี (6) ส่งเสริมผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน (OTOP / Primary GMP) - ตรวจให้คำแนะนำมาตรฐานการผลิตที่ถูกสุขลักษณะเบื้องต้น แก่ผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน ได้แก่ อาหาร ยา สมุนไพร เครื่องสำอาง วัตถุอันตราย - ส่งผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชนตรวจวิเคราะห์ และมีการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ปลอดภัย - ให้คำปรึกษาด้านต่างๆ อาทิ บรรจุภัณฑ์ การตลาด แก่กลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน - อบรมให้ความรู้กลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน/ภาคีเครือข่าย - รับรองกลุ่มผลิตภัณฑ์สนับสนุนให้ได้รับมาตรฐาน GMP/ Primary GMP /OTOP/มผช./ฮาลาล 2. งานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคด้านสาธารณสุข 2.1 จัดการเรื่องร้องเรียน (1) จัดรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์/แจ้งข่าว (2) ตรวจสอบข้อเท็จจริง ประสานข้อมูลกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบสถานที่และผลิตภัณฑ์ ที่เกี่ยวข้อง (3) หากตรวจพบการกระทำความผิด นำเรื่องเข้ากระบวนการดำเนินคดี (4) รายงานผลการดำเนินการให้ผู้ร้องเรียนทราบ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (5) วิเคราะห์และสรุปผลการจัดการเรื่องร้องเรียน (6) อื่นๆ ได้แก่ จัดทำคู่มือการรับเรื่องร้องเรียน /พัฒนาช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน / ประสานหน่วยงานให้การร้องเรียนมีประสิทธิภาพ 2.2 เฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาการโฆษณาไม่เหมาะสม (1) ตรวจสอบโฆษณา (2) ดำเนินคดีโฆษณาที่ไม่เหมาะสม (3) พัฒนาศักยภาพสื่อมวลชน/ คณะทำงานแก้ไขปัญหาการโฆษณา (4) พัฒนาเครือข่ายเฝ้าระวังโฆษณา 2.3 พัฒนาศักยภาพผู้บริโภค และ อย.น้อย (คุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ) (1) ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม อย.น้อย ในโรงเรียน (2) รับรองมาตรฐานกิจกรรม อย.น้อย ในโรงเรียน (3) จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ เช่น แผ่นพับ ไวนิล เพื่อใช้ในการรณรงค์มหกรรม นิทรรศการ (4) จัดกิจกรรมรณรงค์มหกรรม นิทรรศการ เพื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค 2.4 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อการคุ้มครองสิทธิ (1) ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนโดยภาคีเครือข่าย อาสาสมัครสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (เชื่อมโยงงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ) (2) ติดตาม ประเมิน การดำเนินกิจกรรมคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนโดยภาคีเครือข่าย อาสาสมัครสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (เชื่อมโยงงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ) (3) ร่วมกับอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัด (สคบ.) ในการตรวจสถานประกอบการ ผลิตภัณฑ์ โฆษณา 3. งานพัฒนาระบบยาและเวชภัณฑ์ 3.1 บริหารเวชภัณฑ์ (1) ประชุมคณะกรรมการบริหารเวชภัณฑ์ระดับจังหวัดและคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง (2) ดำเนินการจัดหาเวชภัณฑ์ โดยการจัดซื้อร่วมจังหวัด/เขต (3) รวบรวมและวิเคราะห์แผนจัดซื้อเวชภัณฑ์ของหน่วยบริการ (4) รวบรวมข้อมูล สรุปวิเคราะห์ รายงานผลการบริหารเวชภัณฑ์ (5) อบรมให้ความรู้ระเบียบพัสดุแก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง (6) นิเทศ กำกับ ติดตาม และตรวจสอบภายใน การบริหารเวชภัณฑ์ (7) งานอื่นๆ ได้แก่ การพัฒนาบัญชีรายการยาจังหวัด/การใช้โปรแกรมบริหารเวชภัณฑ์/ เวชภัณฑ์ในสถานการณ์ฉุกเฉิน 3.2 พัฒนาความปลอดภัยด้านยาตาม Service Plan การใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU) และสาขาอื่่นๆ ได้แก่ Paliative Care NCD ฯลฯ (1) ประชุมคณะทำงานตาม Service Plan RDU เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงาน (2) สนับสนุน ส่งเสริมให้หน่วยบริการ มีระบบจัดการความปลอดภัยด้านยา (3) สนับสนุน ส่งเสริม พัฒนาเครือข่ายการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และป้องกันการเกิดซ้ำ (Adverse Event : AE) (4) ติดตาม นิเทศ หน่วยบริการดำาเนินงานตามแนวทางฯ (5) รวบรวมข้อมูล ศึกษา วิเคราะห์เพื่อพัฒนางานความปลอดภัยด้านยา 3.3 เภสัชกรรมปฐมภูมิ (1) ร่วมกับเภสัชกรและสหวิชาชีพพัฒนางานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ ใน 3 ระดับ ได้แก่ - ระดับบุคคล คือ ความปลอดภัยด้านยา ลดความคลาดเคลื่อนทางยา การบริหารเวชภัณฑ์ - ระดับครอบครัว คือ การดูแลต่อเนื่องทางยา โดยการติดตามเยี่ยมบ้าน - ระดับชุมชน คือ ลดปัญหาการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม ส่งเสริมการใช้สมุนไพรในชุมชน (2) ประชุมคณะทำงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงาน (3) ควบคุมกำกับและติดตามประเมินผลการดำเนินงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ (4) รวบรวมข้อมูล ศึกษา วิเคราะห์เพื่อพัฒนาระบบเภสัชกรรมปฐมภูมิ 3.4 วิชาชีพเภสัชกรรม (1) จัดประชุมคณะกรรมการวิชาชีพเภสัชกรรม เพื่อสนับสนุน Service Plan และความก้าวหน้าทางวิชาชีพ 4. งานส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจสุขภาพ 4.1 ประชุมคณะกรรมการรับรองมาตรฐานสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ 4.2 รับคำร้องขึ้นทะเบียนผู้ให้บริการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ 4.3 รับคำร้องขึ้นทะเบียนสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ 4.4 ตรวจประเมินเพื่อรับรองมาตรฐานสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ 4.5 สนับสนุนส่งเสริมผู้ประกอบการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพให้ได้มาตรฐาน 4.6 ตรวจสอบสถานประกอบการเพื่อสุขภาพให้ปฏิบัติตามมาตรฐาน 5. งานมาตรฐานสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ 5.1 ประชุมอนุกรรมสถานพยาบาล 5.2 ตรวจประเมินมาตรฐานและควบคุมกำกับให้สถานพยาบาลเอกชน ได้มาตรฐาน ปฏิบัติตามกฎหมาย กำหนด 5.3 พัฒนาผู้ประกอบการให้ปฎิบัติตามกฎหมายที่กำหนด 5.4 จัดการเรื่องร้องเรียน เฝ้าระวังสถานพยาบาลกลุ่มเสี่ยง 5.5 ดำเนินคดีตามกฎหมาย 6. งานอาหารปลอดภัย 6.1 พัฒนาระบบคุณภาพงานอาหารปลอดภัย (1) ประชุมคณะกรรมการ/คณะทำงานอาหารปลอดภัยระดับจังหวัด เพื่อวิเคราะห์ปัญหา การจัดการความเสี่ยง อันนำไปสู่แผนบูรณาการอาหารปลอดภัย (2) จัดทำแผนบูรณาการอาหารปลอดภัยระดับจังหวัด (3) ติดตามการดำเนินงานตามแผนบูรณาการอาหารปลอดภัย (4) รวบรวมและรายงานผลการดำเนินงานตามแผนบูรณาการอาหารปลอดภัยระดับจังหวัด ต่อคณะกรรมการฯ (5) ประเมินตนเองตามแบบประเมินระบบคุณภาพงานอาหารปลอดภัย และดำเนินการพัฒนา ระบบคุณภาพงานอาหารปลอดภัยของจังหวัดให้เป็นไปตามเกณฑ์คุณภาพดังกล่าว 6.2 ตรวจสอบเฝ้าระวังความปลอดภัยในอาหาร (1) กำหนดเปู้าหมายและแผนในการเก็บตัวอย่างอาหารตรวจสอบสารปนเปื้อน (2) แจ้งประสานอำเภอดำเนินการตามเปู้าหมายและแผนเก็บตัวอย่างอาหารตรวจสอบสารปนเปื้อน ตามที่กำหนด (3) แจ้งผลการตรวจสอบ และกรณีตรวจพบสารปนเปื้อนในอาหาร ดำเนินการประสานอำเภอ เพื่อสืบหาแหล่งที่มาของตัวอย่างและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป (4) ดำเนินคดี หากพบอาหารที่ไม่ปลอดภัย (5) สรุปผลการดำเนินงานต่างๆ ให้ฝ่าย/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 7. งานวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข 7.1 การจัดทำแผนงาน/โครงการ/ตัวชี้วัด ที่สอดคล้องกับนโยบายยุทธศาสตร์ 7.2 การรวบรวมจัดทำข้อมูล วิเคราะห์และรายงานสรุปผลการดำเนินงาน 7.3 การนิเทศ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน 7.4 การพัฒนาศักยภาพพนักงานเจ้าหน้าที 7.5 การจัดทำคู่มือ เอกสารวิชาการ 7.6 การเผยแพร่ผลงาน ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ 7.7 การวิจัย / R2R 7.8 อื่นๆ ได้แก่ การประสานงานเขตสุขภาพ 8. งานกฎหมายและคดี (นิติการ) 8.1 การให้คำปรึกษาและความเห็นทางกฎหมาย (1) ให้คำปรึกษาและความเห็นทางกฎหมาย กฎ ระเบียบ คำสั่ง และประกาศแก่บุคคลและส่วนราชการ (2) วินิจฉัย ตีความทางด้านกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง และประกาศ แก่บุคคลและ ส่วนราชการ (3) วิเคราะห์ และเสนอความเห็นทางกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง และประกาศต่อ ส่วนราชการ 8.2 การพิจารณาและตรวจสอบคำอุทธรณ์หรือคำโต้แย้ง (1) พิจารณาและตรวจสอบคำอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งทางปกครองตามกฎหมายเฉพาะที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุข (2) ดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบ กลั่นกรอง และให้ความเห็นในข้อกฎหมาย พิจารณาพยาน หลักฐาน และข้อเท็จจริงในคำอุทธรณ์ เพื่อเสนอแก่คณะกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่ที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็น ผู้มีอำนาจหน้าที่พิจารณาคำอุทธรณ์ 8.3 การดำเนินมาตรการทางปกครอง (1) ดำเนินการเตรียมคำสั่งทางปกครอง (2) ดำเนินการพิจารณาคำสั่งทางปกครอง (3) ดำเนินการออกคำสั่งทางปกครอง (4) ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งทางปกครอง (5) ดำเนินการเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง (6) ดำเนินการพิจารณาหรือกำหนดมาตรการบังคับทางปกครอง ตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 8.4 การดำเนินคดีอาญา คดีแพ่ง คดีปกครอง (1) วิเคราะห์ ตรวจสอบ รวบรวมพยานหลักฐาน ส่งเอกสารให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ เพื่อดำเนินการฟ้องคดี และแก้ต่างคดีอาญา คดีแพ่ง และคดีปกครอง (2) ดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติ อื่นที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุข (3) ดำเนินการฟ้องและแก้ต่างคดีปกครองตามที่ผู้ฟ้องคดีหรือผู้ที่ถูกฟ้องคดีมอบหมาย (4) รับมอบอำนาจการร้องทุกข์ในคดีอาญา เป็นผู้แทนในการประสานคดีกับพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ และศาล ในคดีอาญา คดีแพ่ง และคดีปกครอง รวมทั้งจัดทำร่างคำแก้คำฟ้องคดี ส่งให้พนักงานอัยการ 8.5 การออกบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกระดับ

ข่าวสารและเอกสารสำคัญ

No results found.